Category Archives: จังหวัดอ่างทอง
จังหวัดอ่างทอง
จังหวัดอ่างทอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ตุ๊กตาชาววัง กลอง และงานจักสาน เป็นต้น

ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เมืองอ่างทอง เป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง พิกัดภูมิศาสตร์เส้นรุ้งที่ 14 องศา 35 ลิปดา 12 พิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 100 องศา 27 ลิปดา ห่างจากกรุงเทพมหานครมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (บางปะอิน-พยุหะคีรี) ระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร และเส้นทางเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยาถึงตลาดท่าเตียน ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร มีรูปร่างลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีส่วนกว้างตามแนวทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก และส่วนยาวตามแนวทิศเหนือถึงทิศใต้ใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 968.372 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 605,232.5 ไร่ และมีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี และอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอผักไห่และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช และอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
การเมืองการปกครอง[แก้]
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาคของ เมืองอ่างทอง แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 73 ตำบล 513 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 7 อำเภอ ได้แก่
จังหวัดอ่างทองมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 65 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองอ่างทอง, เทศบาลตำบล 20 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 43 แห่ง[7] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดอ่างทองแบ่งตามอำเภอมีดังนี้
|
|
|
ภูมิประเทศ[แก้]
จังหวัดอ่างทอง มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา ดินเป็นดินเหนียวปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่ ทำนา และทำสวน และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายแขนงที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง ซึ่งไหลผ่านอำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอป่าโมก รวมระยะทางที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทองประมาณ 40 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ[แก้]
ลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในโซนร้อนและชุ่มชื้น เป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งในช่วงนี้ และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกในช่วงนี้
ประวัติศาสตร์[แก้]
อ่างทองในอดีตนั้นมีผู้คนอาศัยอยู่มานานหลายพันปี พื้นที่ทางตอนบนของจังหวัดค่อนข้างเป็นที่ดอน และค่อย ๆ ลาดลงจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ ไม่มีภูเขา ป่า หรือแร่ธาตุ จังหวัดอ่างทองได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ได้อาศัยทำการเพาะปลูก อุปโภคบริโภค และคมนาคมตลอดมา
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบทำให้ทราบว่าในเขตพื้นที่จังหวัดอ่างทอง มีลำดับพัฒนาการจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ไปสู่ยุคประวัติศาสตร์ ดังนี้
1.ยุคหินใหม่ ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรมยุคแรกเริ่ม พบ 2 แห่ง คือ แหล่งโบราณคดีบ้านสีบัวทอง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา อายุประมาณ 3,000 ปี และแหล่งโบราณคดีบ้านคลองสำโรง ต.หลักแก้ว อ.วิเศษชัยชาญ อายุประมาณ 4,000 ปี โดยมากพบเศษขวานหินขัด และกระดูกสัตว์
2.ยุคสำริด ได้ขุดพบเครื่องมือที่ทำจากสำริดในแหล่งโบราณคดีบ้านสีบัวทอง อ.แสวงหา
3.ยุคเหล็ก พบ 3 แห่ง คือ 1.แหล่งโบราณคดีบ้านยางช้าย อ.โพธิ์ทอง 2.แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาวง และ 3.แหล่งโบราณคดีบ้านหัวกระบัง อ.สามโก้ ซึ่งพบลูกปัดหินอาเกต และหินคาร์เนเลียน
4.ยุคทวารวดี สันนิษฐานว่ามีผู้คนอาศัยเป็นชุมชนขนาดกลางแล้ว เช่นที่บ้านคูเมือง อ.แสวงหา และบ้านทางพระ อ.โพธิ์ทอง
5.ยุคก่อนอยุธยา – อยุธยาตอนต้น ในพื้นที่วัดเขาแก้ว อ.โพธิ์ทอง ขุดพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวนจากเตาหลงฉวน และผู่เถียน เครื่องถ้วยเชลียง เครื่องถ้วยจากบ้านบางปูน(สุพรรณบุรี) และเครื่องถ้วยจากเตาเผาแม่น้ำน้อย(สิงห์บุรี)
6.สมัยอยุธยาตอนกลาง – ปลาย ขุดพบได้ทั่วไปในจังหวัดอ่างทอง